Wed. Jan 22nd, 2025
0 0
Read Time:1 Minute, 56 Second

สำหรับปัญหา ของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐนั้น น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล ซึ่งเป็นนักเขียน และนักวิจัย ที่ชี้ให้เห็นว่า การจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐนั้นยากลำบาก โดยเฉพาะข้อมูลที่จะนำไปสู่การตรวจสอบหน่วยงานราชการ

จากประสบการณ์ที่ต้องสืบค้นข้อมูล มองว่า กฎหมาย พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารราชการ ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน มีข้อจำกัดอยู่ 3 เรื่อง คือ ความล้าสมัย หลังบังคับใช้มาแล้วกว่า 20 ปี ไม่มีบทลงโทษรุนแรง สำหรับหน่วยงานราชการที่ไม่เปิดเผยข้อมูล

ก้าวต่อไป ACT AI ฉลาดต้านโกง

ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เกราะป้องกัน ทุจริตคอร์รัปชัน

ทัศนคติเก่าๆ ของเจ้าหน้าที่ ที่ให้ความสำคัญกับคำว่า “ความลับราชการ” ทั้งยังอ้างเรื่องความมั่นคง ระเบียบความลับราชการ รวมถึงหน่วยงานกำหนดชั้นความลับของตัวเองได้ โดยที่ไม่มีการกำกับ การใช้ดุลยพินิจ

ในฐานะผู้ที่เคยมีส่วนร่วมในการยกร่างพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ นางสาวสฤณีเสนอว่า ข้อมูลที่จะเปิดให้ประชาชนเข้าถึง เพื่อให้ตรงเป้าการตรวจสอบการทุจริต ต้องเป็นข้อมูลเปิด หรือ OPEN DATA โดยยึดหลัก

พื้นฐานตามร่างพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ที่เป็นหัวใจสำคัญคือ “เปิดเป็นหลัก ปิดเป็นข้อยกเว้น” ส่วนข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีลับ ต้องทำให้เข้าถึงอย่างสะดวก เข้าใจง่าย เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานราชการ มักอัปโหลดข้อมูลที่ประมวลผลยาก เช่น รายงานความยาว 400 หน้า ส่งผลให้ต้องนำไปประมวลผลเองและการต่อยอดตรวจสอบจากข้อมูลยากขึ้น

การแก้ไขปัญหาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาน นางสาวสฤณี มองว่า ต้องยกเลิกกฎหมาย พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ แล้วผลักดันร่างพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ แต่ความท้าทายอยู่ที่ทัศนคติ วัฒนธรรมของหน่วยงานราชการ ที่การปิดข้อมูลเป็นความลับ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ จึงต้องใช้เวลา ค่อยเป็นค่อยไป ให้รู้สึกสบายใจ และเชื่อมั่นว่า หากเปิดข้อมูลจะไม่ถูกกลั่นแกล้ง แต่ถือเป็นการสร้างกลไกให้ประชาชนร่วมช่วยตรวจสอบ โดยสิ่งสำคัญคือ ความจริงใจของรัฐบาล ที่ต้องให้ความสำคัญกับการเปิดข้อมูลสาธารณะคำพูดจาก เกมสล็อตเว็บแท้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin